:: ข่าวบัญชี ::


อัตราภาษีทางอ้อมทั่วโลกกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงอย่างต่อเนื่อง

จากผลสำรวจของเคพีเอ็มจีทั่วโลก แนวโน้มของภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ที่ไม่มีประเทศใดเลยจาก 106 ประเทศที่เคพีเอ็มจีทำการสำรวจด้านภาษีปรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขึ้นจากปีก่อนหน้า แต่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ กำลังพิจารณาปรับขึ้นอัตราภาษีสินค้าและบริการ หรือที่เรียกว่าภาษีทางอ้อม เพื่อให้เกิดความสมดุลกับรายได้จากภาษีของรัฐ อัตราเฉลี่ยของภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วโลกอยู่ที่ 25.9 % ซึ่งลดลงเกือบ 1 % ต่อปี อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดยังอยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งโดยเฉลี่ยลดลง 1 % ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 มาอยู่ที่อัตรา 23.2% ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งลดลง 0.8% มาอยู่ที่ 28.4 % ภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยมีอัตราอยู่ที่ 30% อัตราภาษีทางอ้อม (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทั่วโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15.7% และมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ภาษีทางอ้อมกำลังปรับตัวสูงขึ้น อัตราเฉลี่ยภาษีทางอ้อมในกลุ่มสหภาพยุโรป (ภาษีสินค้าและบริการหรือภาษีมูลค่าเพิ่มปรับตัวในอัตราสูงที่สุดในโลกไปอยู่ที่ 19.49% ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำที่สุดที่ 11.14% แต่อัตราภาษีเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.5% จากปีพ.ศ. 2549 ในประเทศไทย ภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงอัตราต่ำอย่างต่อเนื่องที่ 7% ในขณะที่ภาษีนิติบุคคลอยู่ที่ 30% ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน มีการขยายตัวการของรายการบัญชีและภาษีที่มีการนำอัตราภาษีดังกล่าวข้างต้นมาคิดคำนวณ และองค์กรที่รับผิดชอบจัดเก็บภาษีกำลังเน้นในเรื่องประสิทธิภาพของการจัดเก็บภาษีทางอ้อมผ่านทางแผนกภาษีนิติบุคคล

ผู้ตรวจสอบภาษีเพิ่มความถี่การเข้าไปตรวจสอบองค์กรทางธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเข้าไปช่วยเหลือในด้านบัญชีภาษีสินค้าและบริการ (จีเอสที) เก็บบันทึกข้อมูลภาษีและรายงานข้อมูลดังกล่าว หลายบริษัททั่วโลกสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านตัวบทกฏหมายและท่าทีของรัฐบาลที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดมากขึ้น เพื่อดำรงไว้ซึ่งการจัดเก็บภาษี การปรับอัตราภาษีทางอ้อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แผนกที่รับผิดชอบภาษีต้องมีความรู้และให้ความสำคัญกับการตรวจสอบกิจกรรมของบริษัทมากยิ่งขึ้น โดยต้องวิเคราะห์รายการบัญชีและภาษี และกระบวนการทางภาษีต่าง ๆ อย่างละเอียดรอบคอบมากขึ้นกว่าในอดีต รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายภาษี หนึ่งในประเด็นใหม่ที่น่าสนใจของกฏเกณฑ์ภาษีคือ การกำหนดราคาโอน ซึ่งหลายประเทศได้กำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อใช้กับการกำหนดราคาโอนของบริษัทข้ามชาติที่มีการซื้อและขายระหว่างประเทศ ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนในทั่วทั้งแวดวงธุรกิจซัพพลายเชนและผู้ค้าอิสระที่บริหารงานอย่างมีประสิทธิ ภาพ และความต้องการรัฐบาลในการคงรายได้ทางภาษีไว้ ความท้าทายในการรับมือกับผู้ตรวจภาษี ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีตกอยู่ในสภาวะที่ลำบาก ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีต้องมีความสามารถในการนำเสนอให้รัฐบาลทราบถึงประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ และอาจต้องช่วยพัฒนานโยบายทางด้านภาษีในประเทศต่าง ๆ เพื่อรัฐบาลดังกล่าวจะได้จัดเก็บรายได้ภาษีจากความเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก